Friday, December 26, 2008

กระทู้ถูกลบ: ไม่มีกษัตริย์เป็นประมุข จะมีใครตายไหม

กระทู้ถาม ไม่มีกษัตริย์เป็นประมุข จะมีใครตายไหม-- ถูกอุ้มอีกแล้ว

โพสต์โดย : piangdin
icon
ID # 765024 - โพสต์เมื่อ : 2008-12-26 22:36:08 _ ปิดข้อความ ex-link แก้ไข


ออกไปธุระชั่วโมงกว่า ๆ กลับมา กระทู้หายซะแล้ว
มันจะอะไรกันนักกันหนาครับ

ไม่อยากให้ในวังได้อ่านหรือไร
อยากทำลายราชสำนักหรืออย่างไร

คนที่หวังดีต่อสถาบันฯ ไม่ควรลบนะครับ

ที่ค้างอยู่หน้าจอผม มีแค่นี้ครับ เลยขอยกมาแปะไว้ และขอวิงวอนให้ท่านที่คิดจะลบ
ได้กรุณาทบทวนให้ดีอีกครั้งครับ
====================
จะมีใครตายไหม หากไทยจะปกครองด้วย ระบอบประชาธิปไตย โดยไม่มีกษัตริย์เป็นประมุข
โพสต์โดย : piangdin
ID # 764924 - โพสต์เมื่อ : 2008-12-26 16:47:27 _ ปิดข้อความ แก้ไข


ผมถามจริง ๆ และเสนอด้วยว่า ไม่ควรให้กษัตริย์เป็นประมุข

ทั้งนี้เพราะการให้กษัตริย์เป็นประมุขนั้น นำมาสู่ความวุ่นวายมากมาย เช่น

หนึ่ง สถาบันกษัตริย์ในฐานะประมุข เมีอำนาจที่คลุมเครือและครอบจักรวาลเกินไป

สอง สถาบันกษัตริย์ถูกวางไว้กลางปัญหาทั้งมวล ยากที่จะวางตัว

สาม หลายกลุ่มผลประโยชน์ใช้สถาบันฯ เป็นเครื่องมือ ทำให้สถาบันฯ ตกต่ำ

สี่ สถาบันฯ เป็นศูนย์รวมของปัญหาเสียเองจนแกะตัวเองไม่ออก เช่น ปฏิวัติรัฐประหาร ก็ต้องไปลงพระปรมาภิไธย ฯลฯ

ห้า อำนาจเป็นของประชาชน กษัตริย์ ควรถูกกันออกมาเสียจากความขัดแย้ง
เพื่อเลี่ยงกับการเผชิญหน้ากับประชาชนที่ไม่พอใจ่ และกลุ่มผลประโยชน์ที่ใช้สถาบันฯ เป็น
เครื่องมือ ทั้งนี้ เพื่อความอยู่รอดของสถาบันฯ เอง

ผมว่า หากทำได้ อาจจะทำให้สถาบันฯ อยู่รอดต่อไป โดยจะมีปัญหาน้อยกว่าที่เป็นอยู่




โพสต์โดย : คำเกิ่ง
ID # 1487288 - โพสต์เมื่อ : 2008-12-26 16:52:26 _ ปิดข้อความ


กระทู้อันตราย




โพสต์โดย : piangdin
ID # 1487291 - โพสต์เมื่อ : 2008-12-26 16:53:29 _ ปิดข้อความ แก้ไข


ผมถามและไม่เชื่อว่า จะมีใครกล้ารับไปทำ
หวังตามระบบ ตามระบอบเดิม คงไม่มีใครกล้า

แต่หากประชาชน ทำหนังสือถึงฝ่ายนิติบัญญัติ สำเนาไปยังในวัง
แล้วเสนอแนะวิธีดำเนินการที่ชัดเจน เช่น

จะเอาสถาบันฯ ไว้ตรงไหน ในฐานะอะไร
มีศักดิ์ สิทธิ และหน้าที่อะไรบ้าง ฯลฯ

สิ่งนี้ ไม่ใช่เป็นไปไม่ได้ ลองดูที่อังกฤษกับญี่ปุ่นมาประกอบก็ได้

คำว่า เป็นประมุข นั้น ต้องถูกตีความออกมาให้เป้นประเด็นให้ชัดกว่าที่เป็นอยู่



โพสต์โดย : piangdin
ID # 1487296 - โพสต์เมื่อ : 2008-12-26 16:55:25 _ ปิดข้อความ แก้ไข


คุณคำเกิ่ง ครับ
สิ่งที่เป็นอันตราย คือ การไม่พูดถึงปัญหา แล้วปล่อยให้ปัญหาหมักหมม
พรมมันจะผุจนเสียหายไปทั้งผืน หากเรารอนานเกินไป โดยไม่ทำอะไรเลย

นี่เป็นทางออกทางหนึ่งครับ




โพสต์โดย : putai
ID # 1487303 - โพสต์เมื่อ : 2008-12-26 16:59:46 _ ปิดข้อความ


คุณ piangdin
จะมีใครกล้าทำไหม คิดว่าเป็นแนวทางที่ ลดปัญหาระยะยาว




โพสต์โดย : jentana
ID # 1487307 - โพสต์เมื่อ : 2008-12-26 17:01:03 _ ปิดข้อความ


หลายคนที่เห็นด้วย ได้แต่น้ำท่วมปาก เพราะ ม112
น่าจะยกเลิกมันเสีย มาตรานี้ บั่นทอน สิทธิเสรีภาพของประชาชน
เมื่อ อยู่ภายใต้ รธน เดียวกัน ย่อมทัดเทียมกัน
สามารถ วิพากษวิจารณ์ได้ ตามสมควร ถูกผิด สู้กันที่ศาล
แบบนี้แจ่มกว่า

แก้ไขล่าสุดเมื่อ 2008-12-26 17:01:53




โพสต์โดย : วิญญาณร้าย108ดวง
ID # 1487310 - โพสต์เมื่อ : 2008-12-26 17:03:29 _ ปิดข้อความ


คนเสนอจะตายก่อนเพื่อน
แต่ผมเห็นด้วยครับ ที่มันยุ่งแบบนี้เพราะอ้างกันไม่เลิก
เป็นเหมือนบ่อน้ำวิเศษที่ชุบตัวได้




โพสต์โดย : piangdin
ID # 1487319 - โพสต์เมื่อ : 2008-12-26 17:05:55 _ ปิดข้อความ แก้ไข


ปัญหาการเมืองไทย ที่เคยได้รับการแก้ไขโดยสถาบันฯ นั้น ถูกมองมานาน
แล้วว่า อาจจะไม่เป็นอย่างนั้นอีกต่อไป เมื่อประชาชนรากหญ้าไม่ได้รับ
การดูแลอย่างแท้จริง เวลาที่เปลี่ยน บทบาทและความสำคัญของสถาบันฯ
ก็คงต้องถูกพิจารณาใหม่...

นักวิชาการจากสิงคโปร์ เขียนเรื่องนี้ไว้เมื่อหกปีที่แล้วครับ

Monarchy retains role in Thai democracy


By MICHAEL J. MONTESANO


Special to The Japan Times
SINGAPORE -- A decade ago this week, tens of thousands of Thais took to the streets of Bangkok to topple Prime Minister Suchinda Kraprayun. Gen. Suchinda had led the successful February 1991 coup d'etat against the elected government of Chatchai Chunhawan. The terms of a constitution drafted on Suchinda's watch allowed him to assume the premiership without contesting the parliamentary elections of March 1992. But the resultant popular outrage overcame even the direct, bloody intervention of the Thai military. After a televised dressing-down from King Phumiphon, Suchinda resigned.

Tragically, the fate of many Thai civilians who disappeared during the "May events" of 1992 remains unclear. Nor has the conduct of officers responsible for the armed forces' excesses received adequate scrutiny. In several other respects, however, a 10-year perspective on those events reveals much about the progress of and prospects for Thailand's parliamentary democracy.

Most important, the 1991-1992 period, in retrospect, turned out be only a minor blip in three decades of parliamentary consolidation in Thailand. May 1992 has produced none of the long-term trauma of the demonstrations and violence of October 1973 or October 1976. And forcible military intervention in national politics appears safely relegated to the past.

For all its vigor, however, Thai parliamentary rule has never proved very good at incorporating or articulating the interests of the country's poor majority. The protests of May 1992 occurred near the peak of Thailand's great economic boom. The presence on the capital's streets of beneficiaries of that boom ("the hand-held phone mob") was widely noted at the time. Years of rapid economic growth had, it seemed, fueled demands for greater democracy among affluent, well-educated Thais.

But the crowds on Bangkok's streets 10 years ago were far more mixed than such an understanding suggests. Their numbers included many from outside the country's new middle classes. And the role of the less affluent in the events of a decade ago points to the greatest challenge before Thai democracy in the next decade: addressing the needs of those closer to the bottom of the socioeconomic heap.

There are a number of hopeful signs in this regard, such as the growing effectiveness of some Thai nongovernment organizations, restoration of certain rights to organized labor, constitutional provisions regarding popular control over natural resources, the decentralization of governance, and the activity of local electoral-oversight committees.

At the same time, many Thais worry that the next round of violence on the streets of Bangkok could see a democratically elected government pitted against representatives of the country's poor. And the Thai party system has yet to offer less advantaged voters a credible electoral option or effective parliamentary voice. The high-tech strongman style and money politics of current prime minister Thaksin Shinawatra and his Thai Rak Thai Party's allegedly "populist" agenda do not yet fit that bill.

It was the intervention of King Phumiphon on the night of May 20, 1992, that brought the crisis to an end. But the king is now a decade older. The advisers on whom he relied in 1992 are likewise aging or even gone. To a degree rarely appreciated, the Thai royal institution as we know it today is largely a product of King Phumiphon's more than five decades on the throne.

Like parliamentary government, the Thai monarchy has both transformed itself with, and participated in, a rapidly changing Thailand. Reflection on the May events of a decade ago underscores the monarchy's continued importance in the Thai political order. Again like Parliament, the monarchy will doubtless adapt to meet the demands of that order in the decade ahead.

Michael J. Montesano is assistant professor in the Southeast Asian Studies Program at the National University of Singapore.
The Japan Times: Monday, May 20, 2002
(C) All rights reserved




โพสต์โดย : piangdin
ID # 1487326 - โพสต์เมื่อ : 2008-12-26 17:10:08 _ ปิดข้อความ แก้ไข


คุณputai, คุณjentana และวิญญาณร้าย108ดวง ครับ

เราท่านก็คงเห็นแล้วว่า สิ่งที่ผมว่ามานั้น มันสมเหตุสมผล
แต่ทำยาก ผมไม่คิดว่า คนทำจะต้องตายหรือถูกประหารเจ็ดชั่วโคตร
เหมือนสมัยโบราณดอกครับ แต่ว่า เรื่องนี้ ต้องถูกนำไปคิด
เรามีการพูดคุยบ้างแล้วในวงวิชาการ เรื่องบทบาทที่ต้องเปลี่ยนของ
สถาบันกษัตริย์ แต่เรายังไม่ได้ก้าวไปถึงจุดที่เสนอทางออก
พร้อมรายละเอียด และการดำเนินการอย่างทะลุปรุโปร่ง

ผมหวังว่า การมองไปข้างหน้า และทำในสิ่งที่ต้องทำนี้
จะเป็น agenda หนึ่ง ของนักวิชาการและนักประชาธิปไตยไทยครับ






โพสต์โดย : piangdin
ID # 1487338 - โพสต์เมื่อ : 2008-12-26 17:13:10 _ ปิดข้อความ แก้ไข


ผมคิดว่า สถาบันฯ หากทำตัวเป็นคุณ คนไทยเลี้ยงให้สมฐานะได้ครับ

สถาบันฯ จะไม่ได้ทำตัวหรูหราดังเทวดา แต่จะอยู่สุขสบายเหนือมนุษย์
แน่นอน แต่ต้องยอมอยู๋ใตักฎระเบียบที่สังคมและประชาชน เจ้าของอำนาจ
อธิปไตยยอมรับได้และยินยอมครับ


ผมเชื่อว่า คนไทยจะรักสถาบันฯ เหมือนคนไทยรักปู่ย่าตายายครับ





โพสต์โดย : butter
ID # 1487347 - โพสต์เมื่อ : 2008-12-26 17:15:28 _ ปิดข้อความ


เมื่อก่อนก็ไม่มีหรอก ไอ้ติ่งห้อยท้าย
ไม่ทราบโผล่มาห้อยต่องแต่งตอนไหน

ได้ยินเจ๊กกบฎ กับอีปานทวยพูดอยู่ครั้งนึง
โจมตีรัฐบาลคุณสมัคร เรื่องไม่ห้อย..โดย....ว่าไม่ "จงลักพักดี"

ผมว่าสถาบันนิ่งมากไปหน่อย แบบว่าไม่ยุ่งการเมือง
ถ้าไม่ยุ่งจริง ก็ควรปรามสิบแปดมงกุฎ และคนใกล้ชิด ไม่ให้ออกมายุแหย่... วุ่นวาย




โพสต์โดย : piangdin
ID # 1487353 - โพสต์เมื่อ : 2008-12-26 17:17:55 _ ปิดข้อความ แก้ไข


พูดถึงเรื่องการนิ่งแบบนุ่มลึกนั้น คุณbutter
หากอ่าน The King Never Smiles
และติดตามเรื่องราวการเมืองระยะหลัง
คำตอบมันชัดอยู่แล้วครับ

ว่าสถาบันฯ ไม่ได้อยู่เหนือการเมืองอย่างแท้จริง

ด้วยสถานะที่กำกวม ผมว่า ต่อให้กษัตริย์ดีและเก่งปานใด ก็แยกออก
จากการเมืองไม่ได้ครับ




โพสต์โดย : เสื่อม!!
ID # 1487363 - โพสต์เมื่อ : 2008-12-26 17:20:48 _ ปิดข้อความ


ผม ไม่อยากให้เป็นเพียงสัญลักษณ์ในแบบที่ อังกฤษ หรือญี่ปุ่นเป็นนะคับ เพราะเชื่อว่าจะนำมาซึ่งปัญหาอื่นๆอีก ยังไงซะเราคงทำไม่ได้แบบที่อังกฤษหรือญี่ปุ่นทำ

แต่ผมชอบแบบฝรั่งเศสมากกว่า.. ..หมายถึงบ้านเมืองเค้าสวยดีนะ




โพสต์โดย : piangdin
ID # 1487378 - โพสต์เมื่อ : 2008-12-26 17:28:30 _ ปิดข้อความ แก้ไข


การเปลี่ยนแปลงแบบหักล้างนั้น หากเกิดแล้วได้ผลแน่ครับ
แต่ก็จะมีการสูญเสียมหาศาล ใครเล่าจะยอมกันง่าย ๆ
ก็คงต้องมีการดึงอำนาจทุกอย่างทีมีมาป้องกัน

ดังนั้น การเจรจาบนหลักเหตุผลแกมบังคับจากพลังประชาชนและความ
เข้าใจถึงความจำเป็นจากทุกฝ่ายที่มีอำนาจและเกี่ยวข้อง เป็นทางออกที่ดีกว่าสำหรับเมืองไทยและคนไทยครับ คุณเสื่อม!! ตามความคิดของผม
แต่ต้องกำหนดกรอบให้ชัดเจน ไม่เช่นนั้น ก็จะต้องมานั่งแก้ เหมือนที่เคย
ทำพลาดมาเมื่อ 2475




โพสต์โดย : นนท์
ID # 1487381 - โพสต์เมื่อ : 2008-12-26 17:30:25 _ ปิดข้อความ


ถ้า จะมีระบบกษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตย ก็ไม่ควรให้มีระบบการโปรดเกล้าฯ เพราะจะทำให้กษัตริย์เสียความเป็นกลางทันที เช่น กฎหมายที่ผ่านรัฐสภาขณะนี้ต้องผ่านการโปรดเกล้าฯ ก่อนบังคับใช้ ถ้าไม่มีการโปรดเกล้าฯ กฎหมายนั้นย่อมตกไปโดยปริยาย แบบนี้ก็แสดงว่าอำนาจสูงสุดอยู่ที่พระมหากษัตริย์ ไม่ได้อยู่ที่ประชาชน ไม่เรียกระบอบประชาธิปไตยแน่นอน สมัยก่อนในรัฐธรรมนูญเรามีเงื่อนไข 30 วัน ถ้าไม่โปรดเกล้าฯ ใน 30 วันให้กฎหมายที่ผ่านรัฐสภามีผลบังคับใช้ได้ทันที แต่สังเกตว่ารัฐธรรมนูญฉบับหลังๆ ตัดข้อกำหนดนี้ไปเลย นี่คือที่มาของความยุ่งยากทำให้เกิดระบอบอำมาตยาธิปไตยขึ้น เพราะคนใกล้ชิดเช่น องคมนตรี หรือทหารใหญ่ ถือโอกาสเข้าแทรกแซงกระบวนการประชาธิปไตยได้

คุณ piangdin คงอายุใกล้เคียงกับผม ถ้าคนไทยไม่กล้าพูดกันในเรื่องนี้ จะมีใครกล้าพูดอีก เอะอะก็ยัดข้อหาหมิ่น เราต้องการรักษาสถาบันกษัตริย์ไว้ไม่ได้ต้องการทำลาย ถ้าทุกคนหุบปากไม่พูดในสิ่งที่ควรพูด นั่นเท่ากับเป็นการจงใจทำลายสถาบันนั่นเอง แต่ถ้าไม่แก้ไขอะไร ปล่อยให้ทุกอย่างเหมือนขณะนี้ ก็ควรเรียกระบอบการปกครองแบบอื่นไปจะดีกว่า




โพสต์โดย : piangdin
ID # 1487386 - โพสต์เมื่อ : 2008-12-26 17:33:58 _ ปิดข้อความ แก้ไข


เข้าเป้าเลยครับ คุณนนท์
เราต้องเริ่มกล้าคิดกันก่อนว่า จะหาที่ให้สถาบันฯ ยังไง ให้เหมาะสม
ยุติธรรม และเป็นธรรม

ส่วนใหญ่ที่ผ่านมาคนไทยเรา ไม่กล้าคิดดัง ๆ ให้ขัดเจน
เมื่อก่อน เราถูกจำกัดด้วยตัวพวกเราเอง ที่มีสันดานทาสติดตัว
แต่ในเมื่อคนเรามีการศึกษาดีขึ้น โลกมันเปลี่ยน คนเราก็น่าจะ
คิดกันใหม่ได้... เพื่อให้บ้านเมืองอยู่ได้ โดยไม่มีใครตายร้างไป




โพสต์โดย : piangdin
ID # 1487422 - โพสต์เมื่อ : 2008-12-26 17:49:25 _ ปิดข้อความ แก้ไข


ที่สำคัญ เราอย่าหลงทาง หลงประเด็นครับ
ผมอ่านกระทู้ข้างบน ของกลุ่ม คนเสื้อแดง Uk

http://www.prachataiwebboard.com/webboard/wbtopic.php?id=764942#1487408

แล้วก็เห็นสิ่งหนึ่งที่น่าอึดอัดใจ เพราะเราอยาก politically correct
มากเกินไป จึงไปยกยอสถาบันฯ แบบเดิมอีก
เราจึงไม่ได้แก้ปัญหาที่ตรงจุด เราเคารพจงรักภักดีน่ะ ไม่เป็นไรครับ
มันติดในสันดานที่ถูกปลูกฝังมานานแล้ว และเราก็ยังเคารพปู่ย่าตายายกันต่อไป
ไม่เป็นไร แต่อย่าให้ถึงกับต้องเอาคำว่า กษัตริย์มายุ่งกับทุกเรื่อง จน
บ้านเมืองเละเทะเหมือนกำลังเป็นอยู่ขณะนี้

ผมขอยกข้อความจากกระทู้ข้างบนและของผมมาแปะไว้นะครับ

โพสต์โดย : here2
ID # 764942 - โพสต์เมื่อ : 2008-12-26 17:35:16 _ ปิดข้อความ


จากการที่ได้มีการ Meeting กันที่ร้านอาหาร"ไทยเอราวัณ"แล้วได้มีการลงมติการใช้ชื่อ
ว่า"ฅนเสื้อแดง"(uk) เพราสีแดงเป็นเอกลักษณ์ในการต่อสู้และกระตุ้นให้อารมณ์ในทาง
ตื่นตัวที่ดีและจะได้เป็นเอกลักษณ์ประจำของคนไทยในอังกฤษด้วย
ส่วนด้านงานได้วางไว้ 2 รูปแบบคืองาน"ใต้ดินและเหนือฟ้า"เพราะคนไทยบางคน
ยังไม่เข้าใจว่าประชาธิปไตยคืออะไร ซำร้ายไปกว่านั้นบางคนยังเข้าใจว่าชาวเสื้อแดง
จะทำการ ล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ตามที่พวกพันธมารใส่ร้าย จนในที่สุดทุกคน
เริ่มจะเข้าใจแล้วว่าพวก"คนเสื้อแดง" ไม่มีวัตถุประสงค์ที่จะล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์
ที่เป็นศูนย์รวมใจของปวงชนชาวไทยมานานนับร้อยๆปี แต่พวกเราต้องการได้
"ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์"ทรงเป็นประมุขเท่านั้น
--------------------------------------------------
โพสต์โดย : piangdin

นี่แหละ การคิดแบบตื้น ๆ ของไทยเรา
อุตส่าห์ตั้งพรรคตั้งกลุ่ม ก็ยังมองไม่เห็นปัญหาอีก

ไอ้ที่มีปัญหาอยู่เนี่ย เขาเรียกว่า "ประชาธิป
ไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข"
แล้วจะไปเรียกร้องหามันอีกทำไมเล่าครับ คุ๊ณ

ติงด้วยความจริงใจและมิตรภาพนะครับ
คิดจะเคลื่อนไหวทางการเมือง เอาให้มันเด็ด ๆ กันไปเลยครับ
อย่าตามกระแส อย่าตาม status quo

หากเป็นคอการเมือง และรักประชาธิปไตย และสถาบันฯ จริง
ก็ต้องกันสถาบันฯ ออกไปจากการเมืองครับ
-------------------------------------


แก้ไขล่าสุดเมื่อ 2008-12-26 18:21:59




โพสต์โดย : TIDDIN
ID # 1487431 - โพสต์เมื่อ : 2008-12-26 17:55:52 _ ปิดข้อความ


นา-นาจิตตัง จะดีหรือเลวก็อยู่ที่ตัวบุคคล
ลองไปนั่งสมาธิกันดีกว่า




โพสต์โดย : piangdin
ID # 1487444 - โพสต์เมื่อ : 2008-12-26 18:01:57 _ ปิดข้อความ แก้ไข


สาธุ ครับ คุณTIDDIN

แต่ด้วยความสุจริตใจและเคารพในความเห็นของคุณ
ผมกลับคิดว่า ศาสนาพุทธ ถูกนำมาใช้เพื่อสร้างคนให้ยอมอยู่ใน
ระบอบการปกครองที่เรามีมาตลอด

ทำดีส่วนตัว ทำเถิดครับ อันบุญนั้น ใครทำดีทำได้ก็ทำเอา
แต่ประชาธิปไตยนั้น เรานั่งสมาธิเอาไม่ได้ครับ



แก้ไขล่าสุดเมื่อ 2008-12-26 18:11:22




โพสต์โดย : roymai
ID # 1487504 - โพสต์เมื่อ : 2008-12-26 18:19:43 _ ปิดข้อความ


เฮ้อ...




โพสต์โดย : บางปู
ID # 1487516 - โพสต์เมื่อ : 2008-12-26 18:24:12 _ ปิดข้อความ


ช้าเร็ว มันก็ต้องเปลี่ยน จะรอ แล้วลุกขึ้นสู้




โพสต์โดย : piangdin
ID # 1487526 - โพสต์เมื่อ : 2008-12-26 18:26:58 _ ปิดข้อความ แก้ไข


สะสางงานแล้ว หยุดพักฉลองปีใหม่ส่งท้ายปีเซ็งซะหน่อยสิครับ
คุณroymai

เรื่องยุ่ง ๆ มันคงดำเนินต่อไปอีกเรื่อย ๆ หมดเรื่องนี้ก็มีเรื่องอื่นอยู่เรื่อย

การพูดคุยและการกระทำทางการเมืองนี้ หากทำเพราะคิดว่า เราได้ทำ
หน้าที่ ๆ ควรทำและทำได้ คือ ได้ทำดีแล้ว ก็พอจะมีความสุขอยู่บ้าง
แต่หากไปหวังผลมาก ไปมองเห็นแต่ปํญหาแล้วทำให้ใจท้อแท้
ใจมันอาจจะเบื่อ จนหมดพลังคิด และทำอะไรที่สร้างสรรค์จริง ๆ ได้

ผมละอดชื่นชม พี่น้องที่ต่อสู้มาตลอดในเสื้อสีแดงครับ

หวังว่า วันที่ 28-9 นี้ จะมีคนไปแสดงพลังกันเยอะ ๆ ครับ

คุณบางปู ครับ เป็นกำลังใจให้นะครับ

โชคดีปีใหม่ด้วยครับ ทุกท่าน

แก้ไขล่าสุดเมื่อ 2008-12-26 18:27:50




โพสต์โดย : deleted
ID # 1487562 - โพสต์เมื่อ : 2008-12-26 18:38:58 _ ปิดข้อความ


อะไรก็แล้วแต่ อยากให้คนรักอยากให้คนเคารพนับถือและเทิดทูลบูชา ควรให้ความรู้สึกเหล่านี้.
เกิดจากความรู้สึกที่แท้จริงเกิดจากก้นบึ้งของหัวจิตหัวใจ
การออกกฎหมายและระเบียบบังบังคับถึงจะได้มา
แต่ก็ได้มาแบบปลอมๆไม่จิรังยั่งยืน ตัวอย่างมีให้เห็นมาแล้ว




โพสต์โดย : tairabb
ID # 1487567 - โพสต์เมื่อ : 2008-12-26 18:41:05 _ ปิดข้อความ


หากไม่มีสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นประมุขแล้ว สิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจ
รองจากสถาบันชาติ ศาสนา ก็คงจะไม่มีอีกแล้ว
เพราะการที่มีสถาบันพระมหากษัตริย์ปกครองประเทศอยู่
ทำให้บุคคลที่มีอำนาจอยู่ในมือ ต้องถ่อมตนเอง ยอมรับ
และให้ความเคารพ และความเกรงใจต่อองค์พระมหาษัตริย์

แต่ถ้าไม่มีเลย บ้านเมืองคงจะวุ่นวายยิ่งกว่านี้แน่ ไม่อยากจะคิดเลย
ว่าจะวุ่นวายมากแค่ไหน




โพสต์โดย : ไทยชน
ID # 1487568 - โพสต์เมื่อ : 2008-12-26 18:41:14 _ ปิดข้อความ


สถาบัน พระมหากษัตริย์ โดยตัวบุคคลผู้เป็นประมุข ต้องรู้จักการปรับตัวด้วยตนเองก่อน ละความไม่โปร่งใสหลายประการ โดยเฉพาะเกี่ยวกับการจัดการพระราชทรัพย์ผ่านช่องทางต่างๆ ทั้งตลาดหุ้น ที่ดิน ให้สามารถตรวจสอบได้ และมีการเสียภาษีอย่างถูกต้องเท่าเทียมกับนักธุรกิจทั่วไปก่อน
และที่ สำคัญ อำนาจในการบงการนอกรัฐธรรมนูญที่เป็นการละเมิดอำนาจตามระบอบประชาธิปไตยของ ประชาชน ทั้งการบงการให้เกิดการรัฐประหารเพื่อรักษาอำนาจและความยั่งยืนของพระราช ทรัพย์ และการแทรกแซงศาลสถิตย์อยุติธรรมเพื่อผลประโยชน์ของสถาบัน ต้องเลิกทำ และเห็นอำนาจอธิปไตยของประชาชนเป็นสิ่้งสำคัญบ้าง ไม่ใช่ว่าจะละเมิดเมื่อไหร่ก็ได้

ทำสองสิ่งนี้ได้ แบบที่กษัตริย์ต่างประเทศ ได้ทำ และรักษาราชวงศ์ไว้ เช่น ราชวงศ์วินเซอร์ของอังกฤษ ยอมเปิดเผยทรัพย์สิน และเสียภาษี หรือกษัตริย์สเปน ไม่ยอมลงนามตั้งคณะนายทหารกบฏให้มีอำนาจ ให้กฎหมายจัดการทหารกบฎ ยึดอำนาจอธิปไตยของประชาชนเป็นที่ตั้ง ก็อยู่รอดได้ หากทำแบบราชวงศ์เนปาล กษัตริย์คยาเนนธรา พยายามดึงอำนาจบริหารกลับมาสู่พระองค์ ก็ประสบกับการสิ้นสูญราชวงศ์ ในที่สุด

สถาบันกษัตริย์ ต้องปรับตัวเสียก่อน ในขณะที่ยังเข้มแข็งอยู่ก่อนที่จะบ่อนทำลายตัวเอง จนไม่เหลือพระบรมเดชานุภาพไว้ให้หมิ่น เมื่อถึงตอนนั้นก็สายเสียแล้ว




โพสต์โดย : Grand Father
ID # 1487570 - โพสต์เมื่อ : 2008-12-26 18:41:27 _ ปิดข้อความ


ระบอบ ประชาธิปไตยของไทย ต้อง มี พระมหากษัตริย์ทรงเปนประมุขแห่งรัฐ

อธิปไตย ไม่ใช่ ของพระเจ้าอยู่หัว(สมบูรณาญาสิทธิราชย์)

อธิปไตย ต้อง เปนของประชาชน รัฐฯ นำไปใช้ (อำนาจอธิปไตย)

.....เข้าใจให้ถูกต้องครับ.....






โพสต์โดย : piangdin (บุคคลนิรนาม)
IP :
ID # 1487599 - โพสต์เมื่อ : 2008-12-26 18:52:15 _ ปิดข้อความ


คุณ Grand Father ครับ
ประเด็นอำนาจนั้น ไม่มีใครเข้าใจผิดนี่ครับ ก็ตามนี้

"มาตรา ๓ อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุข
ทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้"

และอันนี้แหละที่เป็นปัญหา เพราะอำนาจอธิปไตยเป้นของปวงชนชาวไทย
แต่การใช้นั้น ต้องไปผ่านประมุข และเมื่อประมุขรักษาความเป็นกลางไม่ได้
มันก็เลยวุ่นวาย

=========
ขอบคุณคุณไทยชน คุณtairabb และคุณ deleted ด้วยครับ
หลาย ๆ เสียง จากพวกเรา คงสะท้อนภาพปัญหาของระบอบที่เป็นอยู่

อันที่จริงตัวอักษรจะเขียนยังไงนั้น มันก็ไม่สำคัญเท่ากับความเป็นจริง
แต่หากจะให้ดี ต้องแก้ทั้งตัวบทกฎหมายและพฤติกรรมนั่นแหละ





โพสต์โดย : ไม่ชอบพวกสร้างภาพ
ID # 1487601 - โพสต์เมื่อ : 2008-12-26 18:54:19 _ ปิดข้อความ


อะไร ก้อหมิ่น .... หมิ่นพ่อหมิ่นแม่มันหนะสิ..... คนขี้เหม็นเหมือนกัน ให้กราบตีนเสียยิ่งกว่าพ่อแม่ตนเอง......... กับพ่อแม่ตนเอง เกิดมากรูยังไม่เคยกราบตีนเกิน 3 ครั้งเลย ..... ที่จริงเมื่อก่อนนับถือมาก.... แต่เดี๋ยวนี้หมดแล้วตั้งแต่เห็นพฤติกรรมปล่อยให้ลูกน้องยึดสนามบิน......... เหมือนกับคนตาบอดยังไงยังงั้น.... อุ้ย..... ลืมไป..... ว่าอันที่จริง.... อี่ห่าปากแดงด้วย.... ตั้งแต่บริจาคเงินแระ.... คงนึกว่ามันทำสิ่งที่ถูกต้อง แล้วคนอื่นจะทำตาม.......... โถอี่เวรแก้ผ้าแล้วมิงงานนี้.........




โพสต์โดย : piangdin
ID # 1487604 - โพสต์เมื่อ : 2008-12-26 18:54:50 _ ปิดข้อความ แก้ไข


ประเด็นของคุณไทยชนนั่นแหละครับ ที่ทำให้การเปลี่ยนแปลงมันยาก

คนเคยได้ เคยอิ่ม มีหรือจะยอมถูกยึดยือสิ่งที่เคยได้ เคยเป็น เคยมี

แต่ในเมื่อมีความจำเป็นต้องตัดอวัยวะ เพื่อรักษาชีวิต
บางทีคนที่มีเหตุผล ก็ต้องพิจารณาตัดเสียบ้าง

การบั่นนั้น บางทีเป็นการต่อให้ยาวด้วยในตัว




โพสต์โดย : สนทวย (บุคคลนิรนาม)
IP :
ID # 1487607 - โพสต์เมื่อ : 2008-12-26 18:56:33 _ ปิดข้อความ


นับถือคนตั้งกระทู้นี้ นับถือๆ

นับถือคนตอบโดยเหตุผลที่อ่านดูแล้วน่าคิด







โพสต์โดย : นพชีพ
ID # 1487610 - โพสต์เมื่อ : 2008-12-26 18:56:52 _ ปิดข้อความ


ผมเรียนวิชาหน้าที่พลเมือง มาตั้งแต่ยังเด็กๆ แล้วครับ
เขาปลูกฝังมาอย่างนี้

พระมหากษัตริย์ ทรงเป็นพระประมุขของชาติใครจะละเมิดมิได้

ทรงเป็นจอมทัพไทย.... นั่นคือ ทุกเหล่าทัพ อยู่ใต้บังคับบัญชาของพระองค์

ทรงใช้อำนาจ 3 ทาง คือ ทาง สภานิติบัญญัติ
ทางอำนาจบริหาร
ทางอำนาจตุลาการ
รัฐธรรมนูญทุกฉบับเขียนมาแบบนี้หมด แต่แว่วๆ มาว่า รธน. ฉบับ 2484 เป็นฉบับที่สมบูรณ์ที่สุด ว่าจะไปหาดูซักหน่อย




โพสต์โดย : piangdin
ID # 1487614 - โพสต์เมื่อ : 2008-12-26 18:57:42 _ ปิดข้อความ แก้ไข


ความเห็นของคุณไม่ชอบพวกสร้างภาพ แม้ว่าจะแรงมาก
แต่ก็ถือว่า สะท้อนให้เห็นความอึดอัดและความรู้สึกของคนไทยจำนวนหนึ่ง
และเป็นจำนวนที่เพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ ในช่วงครึ่งปีที่ผ่านมา...

พวกเราพยายามเอาเหตุผลและพูดให้อยู่ในกรอบหน่อยก็แล้วกันครับ
กระทู้จะได้ไม่ถูกลบ

อ้อ ว่าแล้ว ก็ต้องขอบคุณประชาไทนะครับ ใจกว้างและมีเหตุผลเสมอ
เจตนาเป็นสิ่งสำคัญ บางครั้ง เราต้องมีความกล้า และผมขอชื่นชมทีมงาน
ประชาไททุกท่าน ที่มีความกล้าทางจริยธรรมและมีความยึดมั่นในระบอบ
ประชาธิปไตยเสมอมา






โพสต์โดย : Grand Father
ID # 1487616 - โพสต์เมื่อ : 2008-12-26 18:59:32 _ ปิดข้อความ


และอันนี้แหละที่เป็นปัญหา เพราะอำนาจอธิปไตยเป้นของปวงชนชาวไทย
แต่การใช้นั้น ต้องไปผ่านประมุข และเมื่อประมุขรักษาความเป็นกลางไม่ได้
มันก็เลยวุ่นวาย

..................................................................


นั่นคือ ประมุขฯ ทรงมีพระราชอำนาจ... (การ โปรดเกล้าฯ)

และ นั่น.. ก็คือ สมบูรณาญาสิทธิราชย์ ใช่.. หรือ ไม่ ...ครับ...





แก้ไขล่าสุดเมื่อ 2008-12-26 19:02:24




โพสต์โดย : piangdin
ID # 1487623 - โพสต์เมื่อ : 2008-12-26 19:02:16 _ ปิดข้อความ แก้ไข


ไม่สมบูรณ์หรอกครับ คุณGF
แค่เกือบสมบูรณ์เท่านั้นเองกระมัง

อ้อ ผมพยายามหารัฐธรรมนูญฉบับที่คุณนพชีพกล่าวถึงมานะครับ
ไม่เจอ แต่ไปเจอ พรบ. การพิมพ์ครับ ถือว่า เป็นการก้าวไปข้างหน้าพอสมควร สำหรับระยะนั้น
อ้อ แล้วผมไปเจอบล็อกที่เสนอ รัฐธรรมนูญหลายฉบับไว้
เป็นประโยชน์ครับ
http://www.weopenmind.com/board/index.php?topic=3411.0

พระราชบัญญัติ
การพิมพ์
พุทธศักราช 2484


ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
(ตามประกาศประธานสภาผู้แทนราษฎร
ลงวันที่ 4 สิงหาคม พุทธศักราช 2480)
อาทิตย์ทิพอาภา
พล อ. พิชเยนทรโยธิน
ตราไว้ ณ วันที่ 26 กันยายน พุทธศักราช 2484
เป็นปีที่ 8 ในรัชกาลปัจจุบัน

โดย ที่สภาผู้แทนราษฎรลงมติว่า สมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วย การพิมพ์ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงมีพระบรมราชโองการให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำ และยินยอมของสภาผู้แทนราษฎร ดังต่อไปนี้

มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้ให้เรียกว่า "พระราชบัญญัติการพิมพ์ พุทธศักราช 2484"

มาตรา 2* ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้เมื่อพ้นกำหนดหกสิบวัน นับแต่วัน ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป *[รก.2484/-/1228/30 กันยายน 2484]
มาตรา 3 ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติการพิมพ์ พุทธศักราช 2476 และบรรดากฎหมาย กฎ และข้อบังคับอื่น ๆ ในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วในพระราช บัญญัตินี้ หรือซึ่งแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้
ส่วนที่ 1
บททั่วไป
_____

มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้
" พิมพ์" หมายความว่า ทำให้เป็นตัวหนังสือหรือรูปรอยอย่างใด ๆ โดยการกด หรือการใช้พิมพ์หิน เครื่องกล วิธีเคมี หรือวิธีอื่นใดอันอาจให้เกิด เป็นสิ่งพิมพ์ขึ้นหลายสำเนา
"สิ่งพิมพ์" หมายความว่า สมุด แผ่นกระดาษหรือวัตถุใด ๆ ที่พิมพ์ขึ้น รวมตลอดทั้งบทเพลง แผนที่ แผนผัง แผนภาพ ภาพวาด ภาพระบายสี ใบประกาศ แผ่นเสียง หรือสิ่งอื่นใดอันมีลักษณะเช่นเดียวกัน
"หนังสือพิมพ์" หมายความว่า สิ่งพิมพ์ซึ่งมีชื่อนำหน้าเช่นเดียวกัน และออก หรือเจตนาจะออกตามลำดับเรื่อยไป มีกำหนดระยะเวลาหรือไม่ก็ตาม มีข้อความต่อเนื่องกันหรือไม่ก็ตาม
"ผู้พิมพ์" หมายความว่า บุคคลซึ่งจัดการและรับผิดชอบในการพิมพ์
" ผู้โฆษณา" หมายความว่า บุคคลซึ่งรับผิดชอบในการผลิตสิ่งพิมพ์ และจัดให้สิ่งพิมพ์นั้นแพร่หลายด้วยประการใด ๆ ไม่ว่าจะเป็นโดยการขาย เสนอขาย จ่ายแจก หรือเสนอจ่ายแจก และไม่ว่าการนั้นจะเป็นการให้เปล่า หรือไม่

"บรรณาธิการ" หมายความว่า บุคคลซึ่งรับผิดชอบในการจัดทำ ตรวจแก้ คัดเลือก หรือควบคุมบทประพันธ์ หรือสิ่งอื่นในหนังสือพิมพ์ เจ้าของหนังสือพิมพ์ หมายความว่า บุคคลซึ่งเป็นเจ้าของ กรรมสิทธิ์หนังสือพิมพ์ "รัฐมนตรี" หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการให้เป็นไปตาม พระราชบัญญัตินี้
มาตรา 5 บุคคลผู้เดียวจะเป็นผู้พิมพ์และผู้โฆษณาสิ่งพิมพ์นอกจาก หนังสือพิมพ์ หรือเป็นผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา บรรณาธิการ และเจ้าของหนังสือพิมพ์ ในขณะเดียวกันก็ได้
บุคคลดั่งระบุไว้ในวรรคก่อน เว้นแต่บรรณาธิการ จะเป็นนิติบุคคล ก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ให้ถือว่า หุ้นส่วนผู้จัดการ กรรมการผู้จัดการ หรือหุ้นส่วน หรือกรรมการใดซึ่งได้รับมอบหมายเพื่อการนี้ เป็นผู้แทนของนิติบุคคลนั้นเพื่อ ความประสงค์แห่งพระราชบัญญัตินี้ แต่ผู้แทนนั้นต้องมีคุณสมบัติและไม่เป็นผู้ไม่มี สิทธิหรือขาดสิทธิดั่งกำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ในอันที่บุคคลธรรมดาจะ เป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์ ผู้พิมพ์ หรือผู้โฆษณา
มาตรา 6 พระราชบัญญัตินี้ไม่ใช้บังคับแก่สิ่งพิมพ์ ดังต่อไปนี้ คือ
(1) สิ่งพิมพ์ของรัฐบาลหรือเทศบาล
(2) สิ่งพิมพ์ซึ่งรัฐมนตรีกำหนด
(3) บัตร ตราสาร แบบพิมพ์ และรายงานซึ่งใช้กันตามปกติในการ ส่วนตัว การสังคม การเมือง การค้า หรือกิจธุระ
มาตรา 7 บุคคลใดประสงค์จะตรวจดู คัดสำเนา หรือให้เจ้าหน้าที่ รับรองสำเนา สมุดทะเบียน ใบอนุญาตหรือเอกสารใดเกี่ยวกับสมุดทะเบียน หรือใบอนุญาต นอกจากส่วนซึ่งเป็นความลับ มีสิทธิที่จะทำได้ในเมื่อได้เสีย ค่าธรรมเนียมดังต่อไปนี้แล้ว

(1) ค่าตรวจดู และหรือคัดสำเนา แผ่นละสิบสตางค์ แต่รวมทั้ง เรื่องครั้งหนึ่งไม่เกินกว่าหนึ่งบาท (2) ค่าเจ้าหน้าที่รับรองสำเนา แผ่นละยี่สิบสตางค์ แต่รวมทั้ง เรื่องครั้งหนึ่งไม่เกินกว่าสองบาท แต่ถ้ากระทำในหน้าที่ราชการ ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม
มาตรา 8 อธิบดีกรมตำรวจหรือผู้รักษาการแทนมีอำนาจออกคำสั่ง โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ห้ามการสั่งหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักร ซึ่งสิ่งพิมพ์ใด ๆ อันระบุชื่อไว้ในคำสั่งนั้นโดยมีกำหนดเวลาหรือไม่ก็ได้
มาตรา 9 เมื่อปรากฏว่าได้มีการโฆษณา หรือเตรียมการโฆษณา สิ่งพิมพ์ใด ๆ ซึ่งเจ้าพนักงานการพิมพ์เห็นว่าอาจจะขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน เจ้าพนักงานการพิมพ์อาจมีคำสั่งเป็นหนังสือ แก่ผู้หนึ่งผู้ใดโดยเฉพาะ หรือมีคำสั่งทั่วไปโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา หรือหนังสือพิมพ์รายวัน ห้ามการขายหรือจ่ายแจกสิ่งพิมพ์นั้น ทั้งจะให้ยึด สิ่งพิมพ์และแม่พิมพ์นั้นด้วยก็ได้
ถ้าผู้มีส่วนได้เสียร้องขอให้แยก ยึดแต่เฉพาะส่วนของสิ่งพิมพ์หรือ แม่พิมพ์เท่าที่จำเป็น และการแยกเช่นนี้อาจทำได้ ก็ให้แยกยึดได้ แต่ค่าใช้จ่าย ในการแยกนี้ให้ผู้ร้องขอเป็นผู้เสีย
ถ้าพ้นกำหนดสามปีแล้ว เจ้าพนักงานการพิมพ์มิได้ถอนการยึดสิ่งพิมพ์ หรือแม่พิมพ์ซึ่งได้ยึดไว้ เจ้าพนักงานการพิมพ์อาจสั่งให้ทำลายสิ่งพิมพ์นั้นเสียได้ แต่ต้องแจ้งให้เจ้าของทราบ ส่วนแม่พิมพ์นั้นอาจสั่งให้รื้อ หรือทำโดยประการ อื่นมิให้ใช้พิมพ์ต่อไป แต่ต้องคืนตัวพิมพ์และวัตถุแห่งแม่พิมพ์ทั้งสิ้นที่เหลืออยู่ให้แก่ ผู้เป็นเจ้าของ

มาตรา 10 คำสั่งของเจ้าพนักงานการพิมพ์ตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง มาตรา 21 (2) และ (3) มาตรา 27 มาตรา 28 มาตรา 36 เฉพาะที่ให้พักใช้ หรือถอนใบอนุญาต หรือให้งดการเป็นผู้โฆษณา บรรณาธิการ หรือเจ้าของหนังสือพิมพ์ และมาตรา 37 เฉพาะที่เกี่ยวกับผู้โฆษณานั้น ให้อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีได้ภายในกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันได้ทราบคำสั่งนั้น แต่การ อุทธรณ์ไม่เป็นการทุเลาการบังคับตามคำสั่งของเจ้าพนักงานการพิมพ์ คำสั่งของรัฐมนตรีให้ถือเป็นเด็ดขาด เมื่อคำสั่งของเจ้าพนักงานการพิมพ์เป็นไปโดยสุจริต แม้รัฐมนตรี จะสั่งยกหรือแก้ไขประการใดก็ตาม เจ้าพนักงานการพิมพ์ไม่ต้องรับผิดใน ค่าเสียหายอันเกิดแต่คำสั่งนั้น
มาตรา 11 ให้ผู้พิมพ์ทำทะเบียนสิ่งพิมพ์ที่ตนได้พิมพ์ขึ้น และให้ ผู้โฆษณาทำทะเบียนสิ่งพิมพ์ที่ตนได้โฆษณาหรือมีไว้เพื่อโฆษณาโดยทำตามแบบ ของเจ้าพนักงานการพิมพ์ และต้องแสดงต่อเจ้าหน้าที่ในเมื่อเจ้าหน้าที่ต้องการ ตรวจ
มาตรา 12 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการให้ เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งเจ้าพนักงานการพิมพ์กับ เจ้าหน้าที่อื่น และออกกฎกระทรวงวางระเบียบเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตาม พระราชบัญญัตินี้
กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้

ส่วนที่ 2
สิ่งพิมพ์นอกจากหนังสือพิมพ์
______

มาตรา 13 สิ่งพิมพ์ซึ่งพิมพ์ขึ้นในราชอาณาจักร ต้องมีผู้พิมพ์และ ผู้โฆษณา

มาตรา 14 บุคคลใดจะเป็นผู้พิมพ์หรือผู้โฆษณา ต้องมีคุณสมบัติตาม มาตรา 15 และไม่เป็นผู้ไม่มีสิทธิหรือขาดสิทธิตามมาตรา 16 ทั้งได้ปฏิบัติ ตามมาตรา 17 แล้ว
มาตรา 15 คุณสมบัติของผู้พิมพ์และผู้โฆษณา คือ
(1) เป็นผู้บรรลุนิติภาวะ และ
(2) มีถิ่นที่อยู่ประจำในราชอาณาจักร
มาตรา 16 บุคคลย่อมไม่มีสิทธิหรือถ้ามีสิทธิอยู่แล้วย่อมขาดสิทธิ เป็นผู้พิมพ์และผู้โฆษณาในระหว่างเวลาที่
(1) ถูกจำคุกอยู่ตามคำพิพากษาของศาลในคดีซึ่งมิใช่ความผิดฐาน ลหุโทษ หรือความผิดฐานประมาท หรือ
(2) ถูกงดการเป็นผู้พิมพ์หรือผู้โฆษณา หรือเป็นผู้พิมพ์ที่ถูกงดใช้ เครื่องพิมพ์ซึ่งตนใช้พิมพ์ตามมาตรา 21 หรือถูกพักใช้ หรือถอนใบอนุญาต หรือถูกงดการเป็นบรรณาธิการ ผู้โฆษณา หรือเจ้าของหนังสือพิมพ์ตาม มาตรา 36 หรือ
(3) ไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ หรือจิตฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบ

มาตรา 17 ผู้ที่จะเป็นผู้พิมพ์หรือผู้โฆษณา ต้องปฏิบัติดังนี้ (1) แจ้งความแก่เจ้าพนักงานการพิมพ์ โดยใช้แบบพิมพ์ของ เจ้าพนักงานการพิมพ์ซึ่งอย่างน้อยต้องมีรายการดังต่อไปนี้ (ก) ชื่อ สัญชาติ อายุ อาชีพ ถิ่นที่อยู่ และการงานที่ทำหรือ เคยทำ (ข) คำรับรองว่ามีคุณสมบัติตามมาตรา 15 และไม่เป็น ผู้ไม่มีสิทธิ หรือขาดสิทธิตามมาตรา 16 (ค) เป็นผู้พิมพ์หรือผู้โฆษณา (ง) ในกรณีที่จะเป็นผู้พิมพ์ ชื่อและที่ตั้งโรงพิมพ์ หรือ สถานที่พิมพ์ ในเมื่อไม่มีที่ตั้งโรงพิมพ์ จำนวน ชนิด และลักษณะของเครื่องพิมพ์ และชื่อผู้เป็นเจ้าของเครื่องพิมพ์ (จ) ในกรณีที่จะเป็นผู้โฆษณา ที่ตั้งสำนักงานของตนและชื่อของ สำนักงาน ถ้ามี (2) ในกรณีที่จะเป็นผู้พิมพ์ ถ้าเครื่องพิมพ์มิใช่ของตน ต้องส่ง หนังสืออนุญาตให้ใช้เครื่องพิมพ์ของเจ้าของไปพร้อมกัน
มาตรา 18 ถ้าข้อเท็จจริงเกี่ยวกับรายละเอียดตามรายการ ในมาตรา 17 (1) (ก) เฉพาะชื่อ สัญชาติ ถิ่นที่อยู่ (ง) หรือ (จ) ได้เปลี่ยนแปลงไป ผู้พิมพ์และผู้โฆษณาต้องแจ้งความแก่เจ้าพนักงานการพิมพ์ โดยใช้แบบพิมพ์ของเจ้าพนักงานการพิมพ์ภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วัน เปลี่ยนแปลง
มาตรา 19 ในสิ่งพิมพ์ทุกฉบับที่พิมพ์ขึ้นในราชอาณาจักร ให้แสดง ปีที่พิมพ์ ชื่อผู้พิมพ์ ชื่อและที่ตั้งโรงพิมพ์ หรือสถานที่พิมพ์ในเมื่อไม่มีที่ตั้ง โรงพิมพ์ ชื่อผู้โฆษณา และที่ตั้งสำนักงานของผู้โฆษณาไว้ที่ปกหน้าหรือหน้า สำหรับบอกชื่อสิ่งพิมพ์นั้น
บรรดาชื่อซึ่งต้องแสดงตามวรรคก่อน ให้ใช้ชื่อเต็ม

มาตรา 20 ให้ผู้โฆษณาส่งสิ่งพิมพ์ที่พิมพ์ขึ้นในราชอาณาจักร สองฉบับให้หอสมุดแห่งชาติภายในกำหนดเจ็ดวัน นับแต่วันพิมพ์เสร็จโดย ไม่คิดราคาและค่าส่ง
มาตรา 21 เมื่อได้มีการโฆษณาสิ่งพิมพ์ซึ่งเจ้าพนักงานการพิมพ์ เห็นว่าอาจจะขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน เจ้าพนักงานการพิมพ์อาจดำเนินการ ดังต่อไปนี้
(1) ให้คำตักเตือนเป็นหนังสือแก่ผู้พิมพ์ และหรือผู้โฆษณา และ ในการให้คำตักเตือนนี้ จะเรียกผู้พิมพ์ และหรือผู้โฆษณาไปรับคำอธิบายด้วย วาจาและให้ลงลายมือชื่อรับทราบด้วยก็ได้
(2) สั่งเป็นหนังสือให้งดการเป็นผู้พิมพ์ และหรือผู้โฆษณา และ หรือสั่งให้งดใช้เครื่องพิมพ์ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของผู้พิมพ์นั้นมี กำหนด เวลาไม่เกินสามสิบวัน แต่การสั่งเช่นนี้จะทำได้ต่อเมื่อได้ให้คำตักเตือน ตามอนุมาตรา 1 แล้ว และผู้ถูกตักเตือนไม่สังวรในคำตักเตือนนั้น
(3) ในคราวที่มีเหตุฉุกเฉินในราชอาณาจักร หรือมีเหตุคับขัน ระหว่างประเทศหรือมีการสงคราม สั่งเป็นหนังสือให้งดการเป็นผู้พิมพ์ และ หรือผู้โฆษณา หรือสั่งให้งดใช้เครื่องพิมพ์ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของ ผู้พิมพ์นั้นทันที โดยมีกำหนดเวลาหรือไม่ก็ได้ และจะสั่งแก้ไขเปลี่ยนแปลง คำสั่งนั้นภายหลังก็ได้ตามแต่เห็นสมควร
มาตรา 22 ผู้พิมพ์หรือผู้โฆษณาคนใดเลิกเป็นผู้พิมพ์หรือผู้โฆษณา หรือขาดคุณสมบัติตามมาตรา 15 (2) หรือขาดสิทธิตามมาตรา 16 (1) ต้องแจ้งความแก่เจ้าพนักงานการพิมพ์โดยใช้แบบพิมพ์ของเจ้าพนักงานการพิมพ์ ภายในสิบห้าวันนับแต่วันเลิกหรือขาดคุณสมบัติหรือขาดสิทธิ

ส่วนที่ 3
หนังสือพิมพ์
_____

มาตรา 23 หนังสือพิมพ์ซึ่งพิมพ์ขึ้นในราชอาณาจักรต้องมีผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา บรรณาธิการ และเจ้าของ

มาตรา 24 บุคคลใดจะเป็นผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา บรรณาธิการ หรือ เจ้าของหนังสือพิมพ์ต้อง
(1) มีคุณสมบัติตามมาตรา 15
(2) ไม่เป็นผู้ไม่มีสิทธิหรือขาดสิทธิตามมาตรา 16
(3) มีสัญชาติไทย หรือสัญชาติแห่งประเทศซึ่งมีสนธิสัญญากับ ประเทศไทย
(4) ทำหนังสือพิมพ์ที่เป็นภาษาแห่งประเทศของตน หากจะมีภาษาอื่น ปนอยู่บ้างก็เฉพาะเป็นการทวนความ หรือการกล่าวอ้างถ้อยคำหรือสำนวน เพียงเพื่อประกอบบทประพันธ์ หรือข้อความเกี่ยวกับการโฆษณาในทางการค้า หรือเป็นข้อความเพื่อประโยชน์แก่การศึกษาภาษาโดยเฉพาะ แต่ทั้งนี้ต้องมี ไม่มากเกินสมควร
(5) แจ้งความแก่เจ้าพนักงานการพิมพ์ โดยใช้แบบพิมพ์ของ เจ้าพนักงานการพิมพ์ ซึ่งอย่างน้อยต้องมีรายการดังต่อไปนี้
(ก) ชื่อ สัญชาติ อายุ อาชีพ ถิ่นที่อยู่และการงานที่ทำหรือ เคยทำ
(ข) คำรับรองว่ามีคุณสมบัติตามมาตรา 15 และไม่เป็น ผู้ไม่มีสิทธิหรือขาดสิทธิตามมาตรา 16
(ค) เป็นผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา บรรณาธิการ หรือเจ้าของ หนังสือพิมพ์ และในกรณีที่ผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา หรือบรรณาธิการมิใช่เจ้าของ หนังสือพิมพ์ต้องส่งหนังสือรับรองของเจ้าของหนังสือพิมพ์ไปพร้อมกัน
(ง) ชื่อหนังสือพิมพ์

(จ) วัตถุประสงค์และระยะเวลาออกหนังสือพิมพ์
(ฉ) ภาษาที่หนังสือพิมพ์จะออก
(ช) ที่ตั้งสำนักงานของหนังสือพิมพ์และที่ตั้งสำนักงานของ ผู้โฆษณา
(ซ) ชื่อและที่ตั้งโรงพิมพ์
(6) ในกรณีแห่งบรรณาธิการ ส่งรูปถ่ายของตนตามที่กำหนดไว้ใน กฎกระทรวงแก่เจ้าพนักงานการพิมพ์พร้อมกับคำแจ้งความ
(7)* [เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2485 และต่อมายกเลิกไปโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 3) พุทธศักราช 2488]
แต่ ถ้าบุคคลที่จะเป็นผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา บรรณาธิการ หรือเจ้าของ หนังสือพิมพ์นั้นมีสัญชาติอื่นนอกจากที่ระบุไว้ใน (3) ก็ดี หรือจะออก หนังสือพิมพ์เป็นภาษาอื่นนอกจากที่ระบุไว้ใน (4) ก็ดี บุคคลนั้นจะเป็นได้ ก็ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานการพิมพ์สำหรับหนังสือพิมพ์นั้นตาม มาตรา 27 แล้ว
มาตรา 25 คำขออนุญาตเป็นผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา บรรณาธิการ หรือ เจ้าของหนังสือพิมพ์ตามมาตรา 24 วรรคท้าย ให้ยื่นต่อเจ้าพนักงานการพิมพ์ โดยใช้แบบพิมพ์ของเจ้าพนักงานการพิมพ์ ซึ่งอย่างน้อยจะต้องมีรายการตาม มาตรา 24 (5) และในกรณีแห่งบรรณาธิการให้ส่งรูปถ่ายของตนตามที่กำหนด ไว้ในกฎกระทรวงไปพร้อมกัน
มาตรา 26 ทุกห้าปี ให้บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ส่งรูปถ่ายใหม่ ของตนตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง
มาตรา 27 เมื่อเจ้าพนักงานการพิมพ์ได้รับคำขออนุญาตอันถูกต้อง ตามมาตรา 25 แล้ว ให้ออกใบอนุญาตให้ภายในสามสิบวันนับแต่วันรับคำขอ เว้นแต่เห็นว่าการอนุญาตนั้นอาจจะมีผลขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรม อันดีของประชาชน

ถ้าไม่อนุญาตแก่ผู้ใดให้เจ้าพนักงานการพิมพ์แจ้งเป็นหนังสือไปยัง ผู้ขออนุญาตภายในสามสิบวันนับแต่วันรับคำขอ
มาตรา 28 ในกรณีที่ขออนุญาตเป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์มากกว่า หนึ่งฉบับ ถ้าเจ้าพนักงานการพิมพ์เห็นว่าผู้ขออนุญาตไม่น่าจะรับผิดชอบ แต่ผู้เดียวได้ทุกฉบับตามที่ขอ จะสั่งอนุญาตแต่บางฉบับก็ได้
มาตรา 28 ทวิ* [ยกเลิกแล้วโดยพระราชบัญญัติ (ฉบับที่ 3) พุทธศักราช 2488]
มาตรา 29 ชื่อหนังสือพิมพ์ วัตถุประสงค์และระยะเวลาออก หนังสือพิมพ์ที่ได้แสดงไว้ในคำแจ้งความตามรายการในมาตรา 24 (5) (ง) และ (จ) นั้น ถ้าจะเปลี่ยนแปลงประการใด ผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา บรรณาธิการ และเจ้าของหนังสือพิมพ์จะต้องแจ้งความต่อเจ้าพนักงานการพิมพ์ โดยใช้ แบบพิมพ์ของเจ้าพนักงานการพิมพ์ก่อนวันเปลี่ยนแปลงไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน
ใน กรณีที่ผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา บรรณาธิการ หรือเจ้าของหนังสือพิมพ์ ต้องมีใบอนุญาต การเปลี่ยนแปลงดั่งกล่าวในวรรคก่อน ผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา บรรณาธิการ และเจ้าของหนังสือพิมพ์นั้นจะทำได้ก็ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจาก เจ้าพนักงานการพิมพ์แล้ว คำขออนุญาตเปลี่ยนแปลงนั้นให้ใช้แบบพิมพ์ของ เจ้าพนักงานการพิมพ์ เมื่อเจ้าพนักงานการพิมพ์ได้รับคำขอแล้ว จะอนุญาต หรือไม่ ให้แจ้งเป็นหนังสือไปยังผู้ขอภายในสามสิบวันนับแต่วันรับคำขอ
มาตรา 30 ถ้าข้อเท็จจริงเกี่ยวกับรายละเอียดตามรายการ ในมาตรา 24 (5) (ก) เฉพาะชื่อ สัญชาติหรือถิ่นที่อยู่ (ช) หรือ (ซ) ของผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา บรรณาธิการ และเจ้าของหนังสือพิมพ์คนใดได้ เปลี่ยนแปลงไป ให้ผู้นั้นแจ้งความต่อเจ้าพนักงานการพิมพ์โดยใช้แบบพิมพ์ ของเจ้าพนักงานการพิมพ์ภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันเปลี่ยนแปลง

มาตรา 31 ให้หนังสือพิมพ์ทุกฉบับที่พิมพ์ขึ้นในราชอาณาจักร แสดงชื่อและที่ตั้งสำนักงานของผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา บรรณาธิการ เจ้าของ ชื่อและที่ตั้งสำนักงานของหนังสือพิมพ์ ชื่อและที่ตั้งโรงพิมพ์ที่พิมพ์หนังสือพิมพ์ นั้นไว้ในหน้าแรกหรือหน้าหลัง บรรดาชื่อซึ่งต้องแสดงตามวรรคก่อนให้ใช้ชื่อเต็ม
มาตรา 32 ให้ผู้โฆษณาส่งหนังสือพิมพ์โดยไม่คิดราคาและ ค่าส่งไปยังที่ทำการเจ้าพนักงานการพิมพ์สามฉบับ และหอสมุดแห่งชาติ สองฉบับ ในวันที่ออกโฆษณา
มาตรา 33 ห้ามโฆษณาความลับของราชการในหนังสือพิมพ์ ก่อนได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ
มาตรา 34 เมื่อมีเหตุจำเป็นเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย ของประชาชน อธิบดีกรมตำรวจหรือผู้รักษาการแทนมีอำนาจออกคำสั่ง ชั่วคราวเป็นหนังสือแก่บุคคลใด หรือมีคำสั่งทั่วไป โดยประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาหรือหนังสือพิมพ์รายวัน ระบุห้ามการโฆษณาเรื่องใด ที่เกี่ยวกับราชการทหารหรือการเมืองระหว่างประเทศ
มาตรา 35 ในคราวที่ประเทศมีเหตุฉุกเฉินหรือตกอยู่ในภาวะ สงคราม อธิบดีกรมตำรวจหรือผู้รักษาการแทนมีอำนาจสั่งเป็นหนังสือแก่ บุคคลใดหรือประกาศโดยวิธีใดให้เสนอข้อความทั้งสิ้นที่จะโฆษณาใน หนังสือพิมพ์ให้เจ้าหน้าที่ตรวจข่าวตรวจก่อน
มาตรา 36 เมื่อได้มีการโฆษณาในหนังสือพิมพ์ซึ่งเจ้าพนักงาน การพิมพ์เห็นว่าอาจจะขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของ ประชาชนหรือฝ่าฝืนคำสั่งห้ามตามความในมาตรา 34 เจ้าพนักงานการพิมพ์ อาจดำเนินการดังต่อไปนี้

(1) ให้คำตักเตือนเป็นหนังสือแก่ผู้โฆษณา บรรณาธิการ และ หรือ เจ้าของหนังสือพิมพ์ ในการให้คำตักเตือนนี้จะเรียกบุคคลที่กล่าวแล้ว ไปรับคำอธิบาย และให้ลงลายมือชื่อรับทราบด้วยก็ได้ (2) สั่งเป็นหนังสือให้ผู้โฆษณา บรรณาธิการ และหรือเจ้าของ หนังสือพิมพ์เสนอเรื่องหรือข้อความที่จะโฆษณาในหนังสือพิมพ์ต่อไปให้ เจ้าหน้าที่ตรวจข่าวตรวจก่อน มีกำหนดเวลาไม่เกินสิบห้าวัน แต่ในการสั่ง เช่นนี้จะทำได้ก็ต่อเมื่อได้ให้คำตักเตือนตาม (1) แล้ว และผู้ถูกตักเตือน ไม่สังวรในคำตักเตือนนั้น (3) ในคราวที่มีเหตุฉุกเฉินภายในราชอาณาจักร หรือมีเหตุคับขัน ระหว่างประเทศหรือมีการสงคราม จะสั่งเป็นหนังสือแก่บุคคลใดให้เสนอ เรื่องหรือข้อความที่จะโฆษณาในหนังสือพิมพ์ต่อไปให้เจ้าหน้าที่ตรวจข่าว ตรวจก่อน หรือสั่งให้พักใช้ หรือถอนใบอนุญาตหรือสั่งงดการเป็นผู้โฆษณา บรรณาธิการ และหรือเจ้าของหนังสือพิมพ์ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของ ผู้นั้นทันทีโดยมีกำหนดเวลาหรือไม่ก็ได้ และจะสั่งเปลี่ยนแปลงคำสั่งนั้น ภายหลังก็ได้
มาตรา 37 เมื่อผู้โฆษณา บรรณาธิการ หรือเจ้าของหนังสือพิมพ์ หลายฉบับ ถูกตักเตือนหรือต้องเสนอเรื่องหรือข้อความที่จะโฆษณาใน หนังสือพิมพ์ฉบับใดเพื่อตรวจก่อนโฆษณา ถ้าหนังสือพิมพ์ฉบับอื่นในความ รับผิดชอบของตนได้โฆษณาเรื่องคล้ายคลึงทำนองเดียวกันนั้นอีก เจ้าพนักงาน การพิมพ์มีอำนาจสั่งให้เสนอหนังสือพิมพ์ฉบับใดฉบับหนึ่งหรือทุกฉบับใน ความรับผิดชอบของผู้นั้นเพื่อตรวจก่อนโฆษณาได้ทีเดียว
มาตรา 38 ผู้โฆษณา บรรณาธิการ หรือเจ้าของหนังสือพิมพ์คนใด ไม่พอใจในคำสั่งของเจ้าหน้าที่ตรวจข่าว จะอุทธรณ์ไปยังรัฐมนตรีก็ได้ แต่ต้องอุทธรณ์ภายในกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่ง คำสั่งของรัฐมนตรี ให้เป็นอันเด็ดขาด แต่ในระหว่างรอฟังคำสั่งอยู่นั้น ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของ เจ้าหน้าที่ตรวจข่าว

ในจังหวัดพระนครและธนบุรี ให้รัฐมนตรีสั่งภายในสามวัน ในจังหวัดอื่นให้สั่งภายในเจ็ดวัน นับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์
มาตรา 39 ถ้าผู้โฆษณา บรรณาธิการ หรือเจ้าของหนังสือพิมพ์ คนใดได้รับคำสั่งเป็นหนังสือให้เสนอหนังสือพิมพ์ให้เจ้าหน้าที่ตรวจข่าว ตรวจก่อน แต่หนังสือพิมพ์นั้นยังออกโฆษณาโดยมิได้เสนอต่อเจ้าหน้าที่ ตรวจข่าวก็ดี ลงข้อความซึ่งเจ้าหน้าที่ตรวจข่าวมิได้อนุญาตให้โฆษณาตาม พระราชบัญญัตินี้ก็ดี หรือไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามคำสั่งของเจ้าหน้าที่ตรวจข่าว ก็ดี เจ้าพนักงานการพิมพ์อาจมีคำสั่งเป็นหนังสือ ห้ามโฆษณาหนังสือพิมพ์ที่ ละเมิดนั้นต่อไป และจะให้ยึดหนังสือพิมพ์นั้นทั้งหมดก็ได้ และเมื่อยึดแล้ว ให้นำบทบัญญัติในมาตรา 9 วรรค 3 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา 40 หนังสือพิมพ์ใดโฆษณาเรื่องราชการคลาดเคลื่อนจาก ความจริงและอาจจะเกิดความเสียหายขึ้นได้ กระทรวงหรือกรมเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องในเรื่องนั้น หรือกรมโฆษณาการ หรือเจ้าพนักงานการพิมพ์อาจ สั่งเป็นหนังสือให้บรรณาธิการหนังสือพิมพ์นั้นแก้เองหรือลงพิมพ์หนังสือซึ่ง แก้ หรือปฏิเสธเรื่องนั้น ภายในวันเวลาที่กำหนดให้ แต่ต้องเป็นวันเวลาที่พอจะ ทันพิมพ์หนังสือพิมพ์นั้นซึ่งจะออกโฆษณาต่อไป
มาตรา 41 หนังสือพิมพ์ใดโฆษณาเรื่องเกี่ยวแก่บุคคลใด คลาดเคลื่อนจากความจริง และอาจจะเกิดความเสียหายแก่บุคคลนั้น บุคคล นั้นอาจแจ้งเป็นหนังสือขอให้บรรณาธิการหนังสือพิมพ์นั้นแก้เอง หรือลงพิมพ์ หนังสือซึ่งแก้หรือปฏิเสธเรื่องนั้น การแก้หรือลงพิมพ์หนังสือซึ่งแก้หรือปฏิเสธ เรื่องที่ว่านี้ จะต้องลงพิมพ์ในฉบับที่จะออกโฆษณาต่อไปจากเวลาที่ได้รับ คำขอดั่งกล่าวแล้ว หรือในฉบับที่ถัดไป
เมื่อได้แก้หรือลงพิมพ์หนังสือซึ่งแก้หรือปฏิเสธ เรื่องที่ว่านี้โดย ถูกต้องแล้ว สิทธิในการฟ้องของบุคคลผู้ขอแก้ทั้งทางแพ่งและทางอาญาเป็น อันระงับลง

มาตรา 42 ถ้าข้อความที่ให้แก้หรือหนังสือซึ่งแก้หรือปฏิเสธเรื่อง ตามมาตรา 40 หรือมาตรา 41 นั้น ขัดกับกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีของ ประชาชนหรือเป็นการเสียดสี หรือผู้ขอให้แก้มิได้แจ้งชื่อและที่อยู่ของตนให้ ชัดเจน บรรณาธิการก็ไม่ต้องแก้หรือนำลงพิมพ์
มาตรา 43 เรื่องหรือข้อความที่ให้แก้หรือหนังสือซึ่งแก้หรือปฏิเสธ ตามมาตรา 40 หรือมาตรา 41 นั้น บรรณาธิการจะต้องแก้หรือลงพิมพ์ใน หนังสือพิมพ์นั้นโดยครบถ้วนในคราวเดียว และต้องให้อยู่ในหน้าเดียวกับเรื่อง อันเป็นเหตุให้แก้หรือปฏิเสธนั้น
เรื่อง หรือข้อความที่ให้แก้หรือหนังสือซึ่งแก้หรือปฏิเสธตามวรรคก่อน ต้องนำลงพิมพ์ให้โดยไม่เรียกค่าธรรมเนียม แต่หนังสือซึ่งแก้หรือปฏิเสธนั้น ต้องไม่เกินกำหนดดังต่อไปนี้
(1) ถ้าเรื่องอันเป็นเหตุที่ขอให้ลงพิมพ์หนังสือซึ่งแก้หรือปฏิเสธนั้น มีอยู่ไม่ถึงครึ่งแนว (คอลลัมน์) หรือครึ่งหน้าหนังสือพิมพ์ หนังสือซึ่งแก้หรือ ปฏิเสธต้องไม่เกินกว่าหนึ่งแนวหรือหนึ่งหน้าหนังสือพิมพ์นั้น แล้วแต่กรณี โดยมี ขนาดแนวและตัวอักษรในเนื้อเรื่องเช่นเดียวกัน
(2) ถ้าเรื่องอันเป็นเหตุที่ขอให้ลงพิมพ์หนังสือซึ่งแก้หรือปฏิเสธนั้น มีอยู่ตั้งแต่ครึ่งแนวหรือครึ่งหน้าหนังสือพิมพ์ขึ้นไป หนังสือซึ่งแก้หรือปฏิเสธต้อง ไม่เกินกว่าสองเท่าของเรื่องนั้น แล้วแต่กรณี โดยมีขนาดแนวและตัวอักษร ในเนื้อเรื่องเช่นเดียวกัน
ถ้า หนังสือซึ่งแก้หรือปฏิเสธเรื่องเกินกำหนดที่ว่ามานี้ เมื่อได้ออก โฆษณาแล้ว เจ้าของหนังสือพิมพ์มีสิทธิเรียกค่าธรรมเนียมเฉพาะในส่วนที่ เกินจากผู้ขอให้ลงพิมพ์ตามอัตราค่าแจ้งความตามปกติได้
สิทธิขอให้แก้หรือลงหนังสือซึ่งแก้หรือปฏิเสธดั่งว่ามานี้เป็นอันระงับ ลงภายหลังหกเดือน นับแต่วันที่หนังสือพิมพ์นั้นออกโฆษณา

มาตรา 44 ผู้ที่ได้แจ้งความหรือได้รับใบอนุญาตเป็นผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา บรรณาธิการหรือเจ้าของหนังสือพิมพ์ใด ถ้าหนังสือพิมพ์นั้นมิได้เริ่ม ออกโฆษณาภายในกำหนดเวลาหกสิบวัน นับแต่วันที่ได้แจ้งหรือวันที่ได้รับ ใบอนุญาต แล้วแต่กรณี การเป็นผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา บรรณาธิการ หรือเจ้าของ หนังสือพิมพ์นั้นเป็นอันสิ้นสุดลง
มาตรา 45 หนังสือพิมพ์รายวัน ถ้ามิได้ออกโฆษณาต่อเนื่องกันเป็น ระยะเวลาสามสิบวัน หรือหนังสือพิมพ์รายคาบ ถ้ามิได้ออกโฆษณาต่อเนื่องกัน เป็นระยะเวลาสี่คราวหรือเกินกว่าสองปี การเป็นผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา บรรณาธิการ และเจ้าของหนังสือพิมพ์นั้นเป็นอันสิ้นสุดลง
มาตรา 46 ผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา บรรณาธิการ หรือเจ้าของหนังสือพิมพ์ เลิกเป็นผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา บรรณาธิการ หรือเจ้าของหนังสือพิมพ์ใดที่ตนเป็นอยู่ หรือขาดคุณสมบัติตามมาตรา 15 (2) หรือขาดสิทธิตามมาตรา 16 (1) ต้องแจ้งความแก่เจ้าพนักงานการพิมพ์โดยใช้แบบพิมพ์ของเจ้าพนักงานการพิมพ์ ภายในสามสิบวัน นับแต่วันเลิกหรือขาดคุณสมบัติ หรือขาดสิทธิในกรณีที่มี ใบอนุญาตให้คืนใบอนุญาตนั้นด้วย
ส่วนที่ 4
ความผิดและบทกำหนดโทษ
______

มาตรา 47 เพื่อประโยชน์แห่งบทบัญญัติในมาตรา 54 และ มาตรา 60 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ผู้ใดครอบครองเครื่องพิมพ์อยู่ ผู้นั้นเป็น ผู้พิมพ์และผู้โฆษณา

มาตรา 48 เมื่อมีความผิดนอกจากที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัตินี้ เกิดขึ้นด้วยการโฆษณาสิ่งพิมพ์นอกจากหนังสือพิมพ์ ผู้ประพันธ์ซึ่งตั้งใจให้โฆษณา บทประพันธ์นั้นต้องรับผิดเป็นตัวการ ถ้าผู้ประพันธ์ไม่ต้องรับผิดหรือไม่ได้ตัว ผู้ประพันธ์ก็ให้เอาโทษแก่ผู้พิมพ์เป็นตัวการ ในกรณีแห่งหนังสือพิมพ์ ผู้ประพันธ์และบรรณาธิการต้องรับผิดเป็น ตัวการ และถ้าไม่ได้ตัวผู้ประพันธ์ ก็ให้เอาโทษแก่ผู้พิมพ์เป็นตัวการด้วย
มาตรา 49 ในกรณีที่นิติบุคคลได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ หรือกระทำความผิดใด ๆ ด้วยการโฆษณาสิ่งพิมพ์ ผู้แทนของนิติบุคคลนั้นต้อง รับผิดด้วยเท่าที่ตนได้กระทำ
มาตรา 50 ความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานสอบสวน มีอำนาจเปรียบเทียบให้คดีเลิกกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ อาญา
มาตรา 51 สิ่งพิมพ์ซึ่งอธิบดีกรมตำรวจหรือผู้รักษาการแทนได้ ประกาศห้ามตามมาตรา 8 นั้น
(1) ผู้ใดสั่งหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักร มีความผิด ต้องระวาง โทษปรับไม่เกินสองร้อยบาท หรือจำคุกไม่เกินสองเดือน หรือทั้งปรับทั้งจำ
(2) ผู้ใดขาย เสนอขาย จ่ายแจก หรือเสนอจ่ายแจกมีความผิด ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองร้อยบาท
สิ่งพิมพ์ที่ว่านี้ ให้ริบเสีย
มาตรา 52 ผู้ใดขาย เสนอขาย จ่ายแจก หรือเสนอจ่ายแจก สิ่งพิมพ์ซึ่งเจ้าพนักงานการพิมพ์ได้ห้ามการขายหรือจ่ายแจก ตามมาตรา 9 มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองร้อยบาท หรือจำคุกไม่เกินสองเดือน หรือทั้งปรับทั้งจำ

มาตรา 53 ผู้พิมพ์หรือผู้โฆษณาคนใด (1) ละเลยไม่ทำหรือไม่แสดงทะเบียนซึ่งเป็นหน้าที่ของตนตาม มาตรา 11 มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าสิบบาท (2) จงใจทำทะเบียนซึ่งเป็นหน้าที่ของตนตามมาตรา 11 เท็จใน สาระสำคัญมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาท
มาตรา 54 ผู้ใดทำการในหน้าที่เป็นผู้พิมพ์หรือผู้โฆษณาโดยฝ่าฝืน บทบัญญัติมาตรา 14 หรือในระหว่างถูกงดเป็นผู้พิมพ์ หรือผู้โฆษณา หรือใช้ เครื่องพิมพ์ซึ่งตนรู้อยู่แล้วว่าถูกงดตามมาตรา 21 มีความผิดต้องระวางโทษ ปรับไม่เกินสองร้อยบาท
มาตรา 55 ผู้ใดจงใจแจ้งความเท็จแก่เจ้าพนักงานการพิมพ์ ในการแจ้งความเป็นผู้พิมพ์หรือผู้โฆษณาตามมาตรา 17 หรือในการแจ้งความ หรือขออนุญาตเป็นผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา บรรณาธิการ หรือเจ้าของหนังสือพิมพ์ ตามมาตรา 24 หรือมาตรา 25 มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน สองร้อยบาท หรือจำคุกไม่เกินสองเดือน หรือทั้งปรับทั้งจำ
มาตรา 56 ผู้ใดละเลยไม่แจ้งความแก่เจ้าพนักงานการพิมพ์ตาม หน้าที่ของตนตามมาตรา 18 มาตรา 22 มาตรา 30 หรือมาตรา 46 มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาท
มาตรา 57 ถ้าได้มีการโฆษณาสิ่งพิมพ์ซึ่งมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วน ตามมาตรา 19 หรือมาตรา 31 ผู้พิมพ์และผู้โฆษณามีความผิดต้องระวางโทษ ปรับไม่เกินห้าสิบบาทสำหรับความผิดคราวหนึ่ง
มาตรา 58 ผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา บรรณาธิการหรือเจ้าของหนังสือพิมพ์ คนใดฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา 29 มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งร้อย บาท

มาตรา 59 ผู้โฆษณาคนใดละเลยไม่ส่งสิ่งพิมพ์ให้แก่หอสมุดแห่งชาติ ตามมาตรา 20 หรือไม่ส่งหนังสือพิมพ์ให้แก่เจ้าพนักงานการพิมพ์หรือหอสมุด แห่งชาติตามมาตรา 32 มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินสิบสองบาท
มาตรา 60 ผู้ใดทำการในหน้าที่ผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา บรรณาธิการ หรือ เจ้าของหนังสือพิมพ์โดยฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา 24 หรือโดยไม่ได้รับอนุญาตตาม มาตรา 27 หรือระหว่างที่ใบอนุญาตได้ถูกพักใช้หรือถูกถอน หรือระหว่างที่ถูกงด การเป็นผู้โฆษณา บรรณาธิการ หรือเจ้าของหนังสือพิมพ์ตามมาตรา 36 หรือ ภายหลังที่การเป็นผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา บรรณาธิการ หรือเจ้าของหนังสือพิมพ์ได้ สิ้นสุดลงตามมาตรา 44 หรือมาตรา 45 มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน สี่ร้อยบาท
มาตรา 60 ทวิ* [เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2485 และยกเลิกไปโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 3) พุทธศักราช 2488]
มาตรา 61 บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ใดไม่ส่งรูปถ่ายใหม่เมื่อครบ ระยะเวลาห้าปี ตามมาตรา 26 มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน สิบสองบาท
มาตรา 62 บรรณาธิการหรือผู้โฆษณาหนังสือพิมพ์คนใดฝ่าฝืน บทบัญญัติมาตรา 33 หรือฝ่าฝืนคำสั่งของอธิบดีกรมตำรวจหรือผู้รักษาการแทน ตามมาตรา 34 มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท หรือจำคุก ไม่เกินสามเดือน หรือทั้งปรับทั้งจำ

มาตรา 63 เมื่อหนังสือพิมพ์ใดโฆษณาเรื่องหรือข้อความซึ่งต้อง เสนอเพื่อตรวจก่อนโฆษณาตามมาตรา 35 มาตรา 36 (3) หรือมาตรา 37 ในกรณีที่เกี่ยวเนื่องกับมาตรา 36 (3) โดยเจ้าหน้าที่ตรวจข่าวยังมิได้อนุญาต ให้โฆษณา หรือไม่ปฏิบัติให้ถูกตามคำสั่งเจ้าหน้าที่ตรวจข่าว ผู้โฆษณา และ บรรณาธิการมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท หรือจำคุกไม่เกิน สามเดือน หรือทั้งปรับทั้งจำ ผู้ใดขาย เสนอขาย จ่ายแจก หรือเสนอจ่ายแจกหนังสือพิมพ์ใด ซึ่ง โฆษณาโดยกระทำผิดดั่งกล่าวในวรรคก่อนโดยรู้อยู่แล้วว่าหนังสือพิมพ์นั้นได้ ออก โดยกระทำผิด มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองร้อยบาท หรือจำคุก ไม่เกินหนึ่งเดือน หรือทั้งปรับทั้งจำ
มาตรา 64 เมื่อหนังสือพิมพ์ใดโฆษณาเรื่องหรือข้อความซึ่งต้อง เสนอเพื่อตรวจก่อนโฆษณาตามมาตรา 36 (2) หรือมาตรา 37 ในกรณีที่ ไม่เกี่ยวเนื่องกับมาตรา 36 (3) โดยเจ้าหน้าที่ตรวจข่าวยังมิได้อนุญาตให้ โฆษณา หรือไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามคำสั่งเจ้าหน้าที่ตรวจข่าว ผู้โฆษณา และ บรรณาธิการมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองร้อยบาท
ผู้ใดขาย เสนอขาย จ่ายแจก หรือเสนอจ่ายแจกหนังสือพิมพ์ใด ซึ่งโฆษณาโดยกระทำผิดดั่งกล่าวในวรรคก่อน โดยรู้อยู่แล้วว่าหนังสือพิมพ์ นั้นได้ออกโดยกระทำผิด มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาท
มาตรา 65 บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ใดละเลยไม่ปฏิบัติให้ถูกต้อง ครบถ้วนในการแก้ข้อความหรือลงพิมพ์หนังสือซึ่งแก้หรือปฏิเสธเรื่องตาม มาตรา 40 มาตรา 41 หรือมาตรา 43 มีความผิดต้องระวางโทษปรับ ไม่เกินหนึ่งร้อยบาท
ส่วนที่ 5
บทฉะเพาะกาล
______

มาตรา 66 ผู้ซึ่งมีใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการพิมพ์อยู่ก่อน วันใช้พระราชบัญญัตินี้ ไม่จำต้องปฏิบัติตามมาตรา 17 มาตรา 24 (5) และ มาตรา 24 วรรคท้าย จนกว่าจะพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันใช้พระราชบัญญัตินี้

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

พิบูลสงคราม
นายกรัฐมนตรี
____________________
พระราชบัญญัติการพิมพ์ (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2485

มาตรา 6 เจ้าของหนังสือพิมพ์ข่าวสารการเมืองที่ได้ออกอยู่ก่อน วันใช้พระราชบัญญัตินี้ หรือที่ได้แจ้งความตามมาตรา 24 หรือรับอนุญาตแล้ว ตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติการพิมพ์ พุทธศักราช 2484 และจะเริ่ม ออกหนังสือพิมพ์นั้นภายหลังวันใช้พระราชบัญญัตินี้ ต้องปฏิบัติตามความใน มาตรา 24 (7) แห่งพระราชบัญญัติการพิมพ์ พุทธศักราช 2484 ภายใน สามสิบวันนับแต่วันใช้พระราชบัญญัตินี้
[รก.2485/19/748/24 มีนาคม 2485]

พระราชบัญญัติการพิมพ์ (ฉบับที่ 3) พุทธศักราช 2485
[รก.2488/5 /119/23 มกราคม 2488] พระราชบัญญัติยกเลิกประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 17 ลงวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2501 พ.ศ. 2518 หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 17 ลงวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2501 เป็นการขัดต่อหลักสิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ของประชาชนตามระบอบประชาธิปไตย อีกทั้งเป็นการขัดต่อเจตนารมณ์ ของกฎหมายรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันที่ว่า บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการพูด การเขียน การพิมพ์และการโฆษณา อีกด้วย ผลจากการมีประกาศของ คณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวทำให้ประชาชนถูกลิดรอน ถูกคุกคาม และบีบคั้น ในการใช้สิทธิเสรีภาพ เป็นระยะเวลาอันยาวนานถึง 17 ปี ตั้งแต่รัฐบาล ในระบอบเผด็จการมาจนกระทั่งปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนที่ ประกอบวิชาชีพหนังสือพิมพ์ ซึ่งทำหน้าที่เป็นปากเสียง เป็นสื่อกลางนำ ข่าวสารและวิทยาการไปสู่ประชาชนนั้นได้รับความกระทบกระเทือน และ ถูกปิดปากเป็นเวลาอันยาวนาน ไม่สามารถแสดงความคิดเห็นและนำ ข่าวสารที่แท้จริงไปสู่ประชาชนได้ขณะนี้ก็เข้าสู่ยุคแห่งประชาธิปไตย จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องกำจัดสิ่งที่ลิดรอนสิทธิและเสรีภาพของ ประชาชนเสีย อีกทั้งเป็นสิ่งสำคัญการสนองเจตนารมณ์ของกฎหมาย รัฐธรรมนูญ จึงเป็นการสมควรอย่างยิ่งที่จะต้องยกเลิกประกาศของ คณะปฏิวัติ ฉบับที่ 17 ลงวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2501 นี้เสีย [รก.2518/208/1พ/8 ตุลาคม 2518]


พระราชกำหนดยกเลิกคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 42
ลงวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2519 พ.ศ. 2533
หมาย เหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกำหนดฉบับนี้ คือ โดยที่ คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 42 ลงวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2519 มีบทบัญญัติที่จำกัดสิทธิเสรีภาพในการเขียน การพิมพ์ และ การโฆษณาไม่เหมาะสมกับภาวะการณ์ในปัจจุบัน ซึ่งมีรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทยรับรองและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพดังกล่าว เป็นเหตุให้มี การรวมตัวกันเรียกร้องสิทธิเสรีภาพนั้นเป็นอย่างมากจนเกิดความสับสน ในการเสนอข่าวสารบ้านเมืองของหนังสือพิมพ์ทั้งหลายอันมีผลกระทบต่อ ความสงบเรียบร้อย ความปลอดภัย และการลงทุนอันเกี่ยวกับความมั่นคง ทางเศรษฐกิจของประเทศ และโดยที่เป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วน ในอันที่จะรักษาความปลอดภัยและความมั่นคงในทางเศรษฐกิจดังกล่าวของ ประเทศ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกำหนดนี้ [รก.2533/231/1พ/17 พฤศจิกายน 2533]



แก้ไขล่าสุดเมื่อ 2008-12-26 19:17:06




โพสต์โดย : butter
ID # 1487624 - โพสต์เมื่อ : 2008-12-26 19:03:49 _ ปิดข้อความ


ผมคิดว่า กษัตริย์น่าจะมองการณ์ไกล คิดได้ว่า ในอนาคตย่อมมีการเปลี่ยนแปลง ท่านควรลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลง ลดทอนสถานภาพ..
ให้มีการเกี่ยวพันกับการเมืองน้อยลง
ควรทำซะตั้งแต่ยังมีกำลังวังชา

ผมตั้งข้อสังเกตว่า คนแวดล้อม ออกมาแสดงบทบาท ในระยะหลัง ๆ
เมื่อท่านทรงพระชราภาพ และประชวร
พวกนี้กำลังครอบงำ และแสดงอิทธิพลเหนือสถาบันกษัตริย์

ลองคิดเล่น ๆ ว่า บางที ถ้าท่านแสดงพระประสงค์ จะขอเปลี่ยนแปลงแก้ไขรัฐธรรมนูญ ใครจะสนองท่าน ในเมื่อมันทำให้พวกเขาเสียผลประโยชน์

ถ้าท่านถูกกดดัน ถูกบังคับ ท่านจะช่วยพระองค์เองอย่างไร
บางทีผมก็แอบคิดอย่างนี้.




โพสต์โดย : tairabb
ID # 1487630 - โพสต์เมื่อ : 2008-12-26 19:05:32 _ ปิดข้อความ


ประเทศไทยประกอบด้วย 3 สิ่ง คือ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
ซึ่งจะขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใดไปไม่ได้ เพราะนี่คือสัญลักษณ์ของประเทศไทย




โพสต์โดย : Grand Father
ID # 1487633 - โพสต์เมื่อ : 2008-12-26 19:07:20 _ ปิดข้อความ



นั่นเลย คุณbutter.....

ถ้าท่านแสดงพระประสงค์ จะขอเปลี่ยนแปลงแก้ไขรัฐธรรมนูญ...

ประชาชน ทั้งหมด ทั้งมวล จะ ขานรับ อย่าง เซ็ง แซ่....

อ้าย อี หน้า ไหน มัน จะมาขวางทาง พลังมวลชน ครับ..





โพสต์โดย : กำนัน
ID # 1487646 - โพสต์เมื่อ : 2008-12-26 19:14:40 _ ปิดข้อความ


สถาบันมีไว้ให้คนอ้างและฟ้องร้องกัน นอกนั้นไม่มีอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน




โพสต์โดย : ไม่ชอบพวกสร้างภาพ
ID # 1487652 - โพสต์เมื่อ : 2008-12-26 19:19:34 _ ปิดข้อความ


พูดผิดไปแล้วครับ คุณ tairabb สัญญลักษณ์เช่นนี้ใช่ว่าจะมีที่ประเทศไทยที่เดียว ตัวอย่างนิดนึง อังกฤษ เขาไม่มี ชาติ ศาสนา กษัตริย์
หรือ ไง เขาก้อมี ... และอีกหลาย ประเทศที่มี กษัตริย์ จ้า นั่นก้อหมายความว่า มีสัญญลักษณ์นี้ทุกประเทศ เพียงแต่ ประเทศเขาไม่เหมือนเรา .... ที่ซ่อนรูปมานาน ....




โพสต์โดย : piangdin
ID # 1487655 - โพสต์เมื่อ : 2008-12-26 19:23:13 _ ปิดข้อความ แก้ไข


เชิญคุยกันต่อนะครับ ทุกท่าน
ผมขอตัวทำธุระครับ






โพสต์โดย : ไม่ชอบพวกสร้างภาพ
ID # 1487668 - โพสต์เมื่อ : 2008-12-26 19:28:00 _ ปิดข้อความ


อีก อย่างนะ คุณ tairabb หากไม่มีระบอบ กษัตริย์ จริงๆ (สมมุตินะ) ผมว่าประเทศเราจะเหมือนอีกหลายประเทศ เช่น อเมริกา ที่ทุกคนมีจุดศูนย์รวมอยู่ที่กฏหมาย ทุกคนเคารพกฏหมาย..... เพียงเท่านี้ประเทศก้อมีจุดยืน เจริญก้าวไกล เพราะอยู่ภายใต้กฏหมาย ทุกอย่างมีกระบวนการตรวจสอบที่เป็นธรรม .... เห็นเปล่าอย่าง ประเทศ อิตาลี่ ระบอบปกครองประเทศของเขาแข็งแรงมาก....

==========

แก้ไขล่าสุดเมื่อ 2008-12-26 22:38:48

หนังสือพิมพ์ออนไลน์ประชาไท | ประชาไทเว็บบอร์ด | เงื่อนไขการใช้งานเว็บบอร์ด



No comments:

Post a Comment